สำนักงานเกษตรอำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

ตั้งอยู่เลขที่ 346 หมู่ 1 ถนนสวาท-หนองแสง ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

อาณาเขตติดต่อ 

ทิศเหนือ ติดกับ อำเภอนิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร
ทิศใต้ ติดกับ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร
ทิศตำวันออก ติดกับ  อำเภอชานุมาน  จังหวัดอำนาจเจริญ
ทิศตะวันตก ติดกับ  อำเภอกุดชุม  จังหวัดยโสธร

  

 
คำขวัญจังหวัด  ยโสธร... เมืองบั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิต แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ
 คำขวัญอำเภอ  เกษตรกรรมฟูเฟื่อง เมืองนกทาใหญ่ ถิ่นภูไทงามเสิศ ต้นกำเนิดสายธาร งามตระการภูถ้ำพระ แหล่งธรรมะดีเด่น
 ที่อยู่ สำนักงานเกษตรอำเภอ 364 หมู่ 1 ถนนสวาท-หนองแสง  ตำบลสวาท อ.เลิงนกทา จ.ยโสธร 35120
 หมายเลขโทรศัพท์  0-4578-1189
 หมายเลขโทรสาร  0-4578-1189
 เว็บไซต์สำนักงานเกษตรอำเภอ
 http://www.loeagnokta.com
  ข้อมูลทั่วไป
 

 

1.ประวัติความเป็นมา

เดิมเป็นกิ่งอำเภอ ขึ้นอยู่ในความปกครองของอำเภออำนาจเจริญ จ.อุบลราชธานี โดยรวมเอาตำบลกุดเชียงหมี 

ตำบลหนองสิม ตำบลบุ่งค้า ของอ.อำนาจเจริญ และ ตำบลส้มผ่อ ตำบลห้องแซง ของ อำเภอยโสธร  ตั้งเป็นกิ่งอำเภอเลิงนกทา  เมื่อวันที่ 10  สิงหาคม  พ.ศ. 2480  ตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอเลิงนกทา ที่บ้านเลิงนกทา (ปัจจุบันเป็นบ้านสวาท ม.11 ตำบสวาท อ.เลิงนกทา) ต่อมาได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ เมื่อวันที่  1 พฤศจิกายน 2490 และได้รับอนุมัติให้ย้ายสถานที่ราชการออกมาตั้งอยู่ตอดถนนชยางกูร สายอุบลราชธานี - นครพนม บริเวณหลักกิโลเมตรที่  116  บ้านสามแยก  หมู่ที่18  ตำบลสวาท  อำเภอเลิงนกทา

 (ปัจจุบันเป็นหมู่ที่  11  ตำบลสามยก  อำเภอเลิงนกทา) เมื่อ พ.ศ. 2506  

จนถึง ปัจจุบัน 

  คำว่า "เลิงนกทา"  มากจากคำว่า เลิง + นกทา
       เลิง      หมายถึง  ที่ลุ่มมีแอ่งน้ำ
       นกทา  หมายถึง  นกชนิดหนึ่งคล้ายไก่ต๊อก อาหารของนกชนิดนี้ ด้แก่ ผลไม้  มด  ปลวก เหตุที่เรียกที่นี่ "เลิงนกทา"  เพราะสมัยก่อนมีนกทาเป็นจำนวนมากอาศัยอยู่ตามที่ลุ่มและหนอง น้ำ แต่ปัจจุบันแทบไม่เหลือให้เห็นแล้ว เพราะสภาพพื้นที่เปลี่นไป เนื่องจากมีคนเข้าไปตั้งบ้านเรือน และทำมาหากินอยู่ทั่วไป
เนื้อที่/พื้นที่ อำเภอเลิงนกทาเป็นอำเภอหนึ่งของจ.ยโสธร อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจ.ยโสธร  ห่างจากจังหวัดยโสธรประมาณ 69  กม. ห่างจากทม. ประมาณ 600  กม.  มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 942.800  ตรม.กม หรือระมาณ 589,250  ไร่ 
          สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป  มีลักษณะภูมิอากาศแบบมรสุม 3 ฤดู หนาวค่อนข้าง หนาวจัด ฤดูร้อนจัด  มีฝนตกชุกพอสมควร มีปริมาณฝนเฉลี่ย 203.43  มิลลิเมตร/ปี  อุณหูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.08 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.18  องสาเซลเซียส
 

2.เนื้อที่/พื้นที่ 942.800 ตร.กม.
3.สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไป แบบมรสุม 3 ฤดู หนาวค่อนข้าง หนาวจัด ฤดูร้อนจัด มีฝนตกชุกพอสมควร มีปริมาณฝนเฉลี่ย 203.43 มิลลิเมตร/ปี อุณหูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.08 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.18 องสาเซลเซียส 

        ข้อมูลการปกครอง
 
1.ตำบล.......10.... แห่ง 3.เทศบาล..8.....แห่ง
2.หมู่บ้าน....145.... แห่ง 4.อบต........... แห่ง
        ข้อมูลด้านเศรษฐกิจ
 
1.อาชีพหลัก ได้แก่ ทำนา
ทำไร่
เลี้ยงสัตว์
ทำสวนยางพารา
 
2.อาชีพเสริม ได้แก่ การผลิตสินค้าหนึ่งตำบล  หนึ่งผลิตภัณฑ์ เช่น ผ้าทอ เส้นก๋วยจั๊บ สุราพื้นบ้าน 
3.จำนวนธนาคาร 
 
มี 3 แห่ง ได้แก่
ธนาคารกรุงไทย  จำกัด  (มหาชน) สาขาเลิงนกทา โทร. 0-4578-1292, 351
ธนาคารออมสิน  สาขาเลิงนกทา โทร. 0-4578-309, 008
ธนาคาร ธ.ก.ส. สาขาเลิงนกทา โทร. 0-4578-1172, 375
4.จำนวนห้างสรรพสินค้า มี เทสโก้โลตัส(ตลาด) แห่ง

 ด้านสังคม
 
1.โรงเรียนมัธยม ได้แก่ โรงเรียนเลิงนกทา   โทร. 0-4578-1116
โรงเรียนห้องแซงวิทยาคม  โทร. 0-4577-7111, 243
โรงเรียนบุ่งค้าวิทยาคม  โทร. 0-4578-1009
โรงเรียนศรีแก้วประชาสรรค์ โทร. 0-4571-6043, 781921
ร.ร.นาโปร่งประชาสรรค์ โทร. 0-4573-9498
 
2.มหาวิทยาลัย ได้แก่  วิทยาลัยการอาชีพเลิงนกทา  0-4578-1804
      ด้านทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญของอำเภอ
 
ลำห้วยเซบาย,ลำห้วยโพง
อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน,อ่างเก็บน้ำห้วยสะแบก
ป่าไม้ดงปอ,ป่าดงบังอี่,ป่าดงหัวกอง

 

         ด้านประชากร
 
1.จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 93,656  คน
2.จำนวนประชากรชาย รวม 46,908  คน
3.จำนวนประชากรหญิง รวม 46,748 คน
4.ความหนาแน่นของประชากร 99 คน/ตร.กม.

        ด้านการคมนาคม
 
1.ทางบก - รถยนต์ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  2277
- สถานีขนส่ง หมายเลขโทรศัพท์  0-4578-1355
- สถานีรถไฟ  หมายเลขโทรศัพท์  -
2.ทางน้ำ - ท่าเรือขนส่งโดยสาร  หมายเลขโทรศัพท์  -
- ท่าแพขนานยนต์        หมายเลขโทรศัพท์  -
3.ทางอากาศ - ท่าอากาศยาน             หมายเลขโทรศัพท์  -

         ด้านการเกษตร และอุตสาหกรรม
  - 
1.ผลผลิตทางการเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ
อ้อย
มันสำปะหลัง
ยา่งพารา
 
2.ชื่อแหล่งน้ำที่สำคัญได้แก่
      (แม่น้ำ/บึง/คลอง)
อ่างเก็บน้ำห้วยลิงโจน  ปริมาณเก็บน้ำ จำนวน 18.40 ล้านลูกบาศก์เมตร
อ่างเก็บน้ำห้วยสะแบก ปริมาณเก็บน้ำ  จำนวน  26.80 ล้านลูกบาศก์เมตร
สระเก็บน้ำ หนอง บึง จำนวน 287 แห่ง
บ่อบาดาล  จำนวน  385  แห่ง
ฝายกั้นน้ำ  จำนวน 192  แห่ง
 
3.โรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ -